Sensory Awareness

   


นั่งคิดอยู่นานสองนานว่าจะอธิบายเรื่อง “Sensory Awareness” ของ NLP อย่างไรดีให้เข้าใจง่ายที่สุด ก็พอดีมาเจอเข้ากับคำท่าน กฤษณมูรติ ที่ว่า
.
“ความสามารถในการสังเกต โดยไม่ตัดสินประเมินค่า คือปัญญาขั้นสูงสุด”
.
นี่แหละคือ “Sensory Awareness” (ระบบประสาทการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพ) ที่ NLP มักกล่าวถึง
.
กล่าวคือเมื่อมอง(รับรู้)สิ่งใด ก็จงรับทราบถึงรายละเอียด ถึงความเป็นสิ่งนั้นๆ แล้วก็พอแค่นั้น
.
อย่าได้ตัด อย่าได้ต่อเติม และที่สำคัญคืออย่าได้บิดเบือนสิ่งที่เห็น(หรือได้ยิน หรือสัมผัส) ตามความเคยชิน
.
(ข่าวร้ายคือสิ่งเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำภายในสมองของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว)
.
ยกตัวอย่างเช่นพอเราเปิดโทรทัศน์ขึ้นมา แน่นอนช่วงนี้ก็คงมีแต่ข่าวโรคระบาด คำถามคือเรากำลังรับรู้อะไร? เรากำลังมองดูหรือฟังอะไรอยู่?
.
ก็เพียงแต่รับรู้ถึงรายละเอียดของเนื้อข่าวนั้น มีรายละเอียดอย่างไรก็ว่ากันไป
.
อย่าได้มองข้ามรายละเอียดเล็กน้อยโดยการฟังเฉพาะเรื่องที่อยากฟัง เห็นเฉพาะสิ่งที่อยากดู
.
อย่าแต่เติมด้วยเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เราไม่รู้หรือยังไม่ได้เกิด
.
และที่สำคัญคืออย่าเปลี่ยนมันให้กลายเป็นอย่างอื่น คือดูเราเปิดโทรทัศน์ข่าว ดูความเป็นไปของโรค รับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
.
"#ไม่ใช่การมองดูความกลัวหรือความตื่นตระหนก”
.
จากตัวอย่างนี้ Sensory Awareness จึงไม่ใช่เรื่องของกลัวหรือไม่กลัว หากแต่ Sensory Awareness เป็นการกระตุ้นเตือนให้เรามองโลกด้วยความเป็นจริง ตามรายละเอียดที่เกิดขึ้นจริง อย่างมีเหตุมีผล
.
#ไม่ตัด #ไม่เติม #ไม่เปลี่ยนประเด็น”
.
พูดง่ายคือมี “#สติ” ไม่หลงเตลิดไปกับความเคยชินของสมอง
.
เพราะมีแต่ผู้มีสติ มีแต่ผู้ที่รับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ตามความเป็นจริงเท่านั้น จึงจะสามารถใช้ปัญญาในการจัดการสิ่งต่างๆ อย่างเหมาะสมได้
.
#คนจะประสบความสำเร็จต้องมีสิ่งนี้เป็นพื้นฐาน
.
ก็ไม่เฉพาะแต่เปิดโทรทัศน์ดูหรอก ความจริงทุกเรื่องในชีวิตก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้
.
เช่นเมื่อคุณกำลังมองไปใครซักคนหนึ่งที่อยู่ตรงหน้า คุณกำลังมองเห็นอะไร? มิตร? ศัตรู? ความกังวลใจ? ความหลงไหล? หรืออื่นๆ
.
แล้วเมื่อคุณลงมือทำ(หรือไม่ทำ)อะไรซักอย่างล่ะ? คุณกำลังทำอะไร? ความยากลำบาก? ความจำเป็น? หรือความล้มเหลว?
.
คนที่มองเห็นความจริงเท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จ
.
เพื่อการนี้ “สติ” คือสิ่งที่สำคัญมาก