George Kelly: The Fundamental Postulate and Its Corollaries

   


สมมติฐานขั้นพื้นฐานของทฤษฎีของ Kelly คือ "กระบวนการความคิดของคนถูกวางแนวโดยจิตใตด้วยวิธีที่เขาคาดการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์" เพราะว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการกระทำและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มนุษย์ปฏิบัติการโดยอาศัยการคาดหวังเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือความคาดหวังเป็นตัวกำกับพฤติกรรม ความคาดหวังทำให้เกิดแรงจูงใจของพฤติกรรม ทฤษฎีขั้นพื้นฐานของ Kelly นี้ได้สร้างข้อคิดหรือ corollaries ขึ้นมาซึ่งมีดังต่อไปนี้
 
1. Construction Corollary หมายถึง บุคคลตีความหมายเหตุการณ์ใด ๆ โดยโครงสร้างอย่างมีความหมาย (เพื่อเข้าใจเหตุการณ์นั้น ๆ) ในส่วนของ Construction Corollary นี้บุคคลจะใช้ประสบการณ์เก่าเป็นตัวตีความความคาดหวังของเรา เช่น ถ้าเราตั้งนาฬิกาปลุกตอน 6 โมงเช้า เราก็คาดหวังจะให้มันดังตอน 6 โมงเช้าเช่นที่มันเคยดังทุก ๆ วัน
 
2. Individuality Corollary หมายถึง บุคคลตีความเหตุการณ์และสร้างโครงสร้างแตกต่างกันไป (แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน) ไม่มีใครตีความเหตุการณ์เดียวกันเหมือนกันทุกประการ การตีความ มีความสำคัญยิ่งกว่าความเป็นจริงของเหตุการณ์ เนื่องด้วยมนุษย์เรานั้นมีประสบการณ์เบื้องหลังที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการตีความจึงแตกต่างกันไปเช่นเดียวกัน แต่ท่ามกลางความแตกต่างก็มีความเหมือนเกี่ยวกับความคิดที่มีต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคนเราจึงสามารถที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้
 
3. Organization Corollary หมายถึง เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น บุคคลแต่ละคนพยายามจัดระเบียบระบบโครงสร้างที่สร้างขึ้นมา เพื่อมองให้เห็นระดับความสำคัญรวมทั้งความเกี่ยวข้องภายในโครงสร้างนั้น ๆ และกับโครงสร้างอื่น ๆ Kelly ได้เสนอแนวคิดนี้ว่า "บุคคลแต่ละคนนั้นจะมีวิวัฒนาการเพื่อเสริมการคาดการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ จึงเป็นระบบความคิดที่ยอมรับความสัมพันธ์ที่เรียงลำดับระหว่างความคิด" ดังนั้นถึงแม้ว่าผู้คนจึงแตกต่างกันไม่ใช่เฉพาะด้านความคิดแต่ยังต่างกันในด้านของวิธีจัดการความคิดด้วย
 
4. Dichotomy Corollary หมายถึง โครงสร้างที่บุคคลสร้างขึ้นนอกจากจะไม่มีโครงสร้างเดียวแล้ว เรายังสร้างโครงสร้างของเราเป็น 2 ขั้ว ซึ่งตรงข้ามกัน เช่น สุข-ทุกข์ ชอบดนตรี-ไม่ชอบดนตรี เป็นประชาธิปไตย-ไม่เป็นประชาธิปไตย ถูก-ผิด ดี-เลว
 
5. Choice Corollary หมายถึง บุคคลเลือกโครงสร้างที่เขาขึ้นมา ทั้งนี้เพราะบุคคลมีเสรีภาพที่จะเลือกตามที่เขาปรารถนา และที่เป็นจะประโยชน์กับตัวเขา มนุษย์นั้นจะเลือกของที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง Kelly ยังกล่าวอีกว่าปกติมนุษย์จะเลือกของที่ท้าทายหรือไม่ก็ละเอียด เพื่อทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นในเรื่องของการตีความเกี่ยวกับสังคมที่เราอยู่ และเราก็ชอบเลือกของที่เสริมความเข้าใจให้กับสังคม ในส่วนนี้จะเป็นตัวที่ทำให้เรามีการเติบโตส่วนตัวมากขึ้น (personal growth)
 
6. Range Corollary หมายถึง แต่ละโครงสร้างของความคิดมีความหมายที่มีขอบเขต เช่น โครงสร้างของสูงกับเตี้ย ใช้ได้กับบุคคล ต้นไม้ บ้าน แต่ไม่ได้ใช้กับความดี ความงาม เป็นต้น
 
7. Experience Corollary หมายถึง การสร้างและตีความโครงสร้างใด ๆ ของบุคคลขึ้นกับประสบการณ์เฉพาะตน และบุคคลยังปรับเปลี่ยนโครงสร้างเก่า เมื่อมีประสบการณ์ใหม่
 
8. Modulation Corollary หมายถึง โครงสร้างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับกรอบแนวความคิด กระบวนสร้างโครงสร้าง และการจัดระบบ เช่น โครงสร้างที่เป็นความดีงามกับชั่วร้าย อาจเปลี่ยนไปตามกาลเทศะ เหตุการณ์และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
 
9. Fragmentation Corollary หมายถึง บุคคลสร้างโครงสร้างของความคิดหลายโครงสร้างซึ่งอาจเป็นทั้งความคิดเก่า และความคิดใหม่ บางความคิดอาจไม่กลมกลืนไปด้วยกัน ดังนั้น เราจึงไม่สามารถเข้าใจบุคลิภาพและพฤติกรรมได้ทั้งหมดว่าบุคคลจะทำอย่างไร จะเป็นอะไรในอนาคต ซึ่งบางเรื่องอาจเป็นเรื่องที่เรานึกไม่ถึง ทั้งนี้ทั้งแล้วเนื่องจากระบบความคิดของเรานั้นมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ระบบความคิดของเราจึงอาจไม่สอดคล้องกันเสมอไป ดังนั้นแล้วบางครั้งเราจึงมีพฤติกรรมที่ไม่เข้ากับประสบการณ์ล่าสุดของเราได้ เช่น แมรี่ประกาศว่าจะแต่งงานกับแฟนเธอ แต่พอวันต่อมาเธอเปลี่ยนใจไม่แต่งงานแล้วก็บอกกับเพื่อน ๆ เธอว่าแฟนเธอนั้นเจ้าชู้ เธอจึงไม่ต้องการจะแต่งงานอีกต่อไป ในการอธิบายสิ่งนี้ได้นั้น เราจะต้องหาความคิดหลัก (ruling construct) ให้เจอแล้วความคิดหลักนั้น ๆ จะกลายเป็นตัวนำพฤติกรรมของเราเอง
 
10. Commonality Corollary หมายถึง โครงสร้างของคนคนหนึ่งอาจคล้าย ๆ กับอีกคนหนึ่งหรือของอีกหลายคนแต่ไม่ได้หมายความว่าประสบการณ์ของเขาจะเหมือนกับคนที่มีอะไรเหมือน ๆ กัน ถึงแม้ว่าประสบการณ์จะต่างกัน แต่ถ้าหากบุคคลนั้น ๆ สามารถตีความเหมือนกันได้ ก็จะส่งผลให้มีพฤติกรรมที่คล้ายกันได้
 
11. Sociability Corollary หมายถึง การที่มีความเป็นไปได้ว่าบุคคลสามารถสร้างโครงสร้างคล้าย ๆ กันกับของคนอื่นได้ เมื่อเราเข้าใจความคิดของคนอื่น เราก็จะสามารถคาดเดาพฤติกรรมของคนนั้น ๆ ได้ และสามารถที่จะปรับพฤติกรรมของเราให้สอดคล้องกับเขาได้เช่นกัน ดังนั้น บุคคลจึงสามรถแสดงบทบาทเชิงสังคมที่คล้ายคลึงกับคนอื่นได้ เช่นแสดงบทบาทเป็นหัวหน้า ทั้ง ๆ ที่เป็นลูกน้อง