มุมมอง

   


เวลานั่งทานข้าวเคยเจอแมลงวันมาตอมให้รำคาญใจเล่นหรือเปล่าครับ แล้วตอนนั้นรู้สึกอย่างไรทั้งกับเหตุการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ (คือกำลังทานข้าว) และเจ้าแมลงวันเจ้าปัญาตัวนั้น
 
แล้วเจ้าแมลงวันล่ะ มันจะคิดอย่างไร?
 
นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของ Multiple Perceptual Positions ใน NLP ซึ่งว่าด้วยทุกสิ่งทุกอย่างย่อมตีความหมายต่อการสื่อสารด้วยทัศนคติและความรู้สึกที่แตกต่างกันเพราะอยู่ในตำแหน่งหรือมุมที่แตกต่างกัน จากเหตุการณ์เดียวกันคือบนโต๊ะอาหาร ในขณะที่มนุษย์คิดว่า “แมลงวันสกปรก น่ารำคาญ ไปให้พ้นซะทีซิโว้ยจะกินข้าว” แมลงวันกลับคิดว่า “ปลาทอดตัวนั้นน่ากินจัง ฉันหิว ขอกินหน่อย จะมาปัดฉันทำไมนะไอ้คนพวกนี้ ฉันกินนิดเดียวกินไม่หมดหรอกพวกมนุษย์นี่จะงกไปทำไม”
 
...แล้วปลาทอดที่กำลังจะโดนกินล่ะ ถ้ามันยังคิดได้มันคิดว่าอะไร?
 
ในทุกๆ เหตุการณ์มันจะมีมุมมองมากกว่าหนึ่งมุมเสมอ และแน่นอนว่าต่างมุมมองมันก็ย่อมแตกต่างความคิดเห็นกันออกไป
 
 เกรโกรี่ เบตสัน นักจิตวิยาบำบัดชาวอเมริกัน (ต้นทฤษฏี Multiple Perceptual Positions) กล่าว่าทุกๆ เหตุการณ์ที่มีความขัดแย้ง “มันจะดีเสมอถ้าหากมีคำอธิบายมากกว่าหนึ่ง” คำอธิบายที่ว่านี้ก็คือความคิดเห็น ความรู้สึก หรือทัศนะคติจากบุคคลต่างๆ ผู้ร่วมในเหตุการณ์นั้นๆ เช่น
 
คุณเอซังรู้สึกไม่สบายค่อยใจเลยที่เพื่อนๆ ของเขา (เช่นคุณบีซัง ซีซัง และดีซัง) ไม่มีคนสนใจวันเกิดของเขาเลย
 
คุณเอซัง – “ไม่มีคนสนใจฉันเลย เหมือนฉันไม่มีตัวตน ตั้งๆ ที่ผ่านมาฉันทุ่มเทให้กับทุกๆ คน ฉันไม่เคยลืมวันเกิดของทุกคน แต่สุดท้ายก็ไม่คนเห็นคุณค่าของฉันเลยแม้แต่น้อย ฉันมันเป็นคนไม่มีคุณค่าอะไรเลย”
 
คุณบีซัง – “ช่วงนี้งานเยอะมาก บริษัทใกล้เจ๊งแล้ว ผมต้องทำงานจนหัวปั่น อย่าว่าแต่เรื่องอะไรเลยขนาดจะกินข้าวผมยังไม่มีเวลาจะนึกถึง แล้วอนาคตของผมจะเป็นอย่างไรต่อไปล่ะ”
 
คุณซีซัง – “อ่าววันเกิดเอซังไม่ใช่อาทิตย์หน้าหรอกเหรอ ...ตายแล้วจำผิดกับดับเบิ้ลยูซังนี่หว่า ดันมาเกิดเดือนเดียวกัน มิหน้าตอนให้ของขวัญดับเบิ้ลยูซังมันถึงทำหน้างงๆ”
 
คุณดีซัง – “ผมไม่ลืมหรอกวันเกิดเอซังน่ะ แต่เดือนที่แล้วเขาเพิ่งแขวะผมไปกลางงานเลี้ยงรุ่น ผมว่าผมหลบๆ เขาไว้หน่อยดีกว่า ซื้อของขวัญให้เกิดไม่ถูกใจจะโดนแขวะกลับมาให้อายคนเล่นเปล่าๆ”
 
ตัวอย่างนี้ถ้าเอาแต่ความรู้สึกนึกคิดจากมุมมองของคุณเอซังคนเดียวก็ดูเป็นหาที่น่าหนักอกหนักใจเป็นอย่างมาก แต่พอเอาทัศนะคติของคนอื่นๆ มาประกอบเข้าเป็นแผนที่ชิ้นใหญ่ทำให้เห็นพื้นที่เหตุการณ์ได้กว้างขวางทั่วถึงขึ้นกว่าเดิมแล้ว เราจะค้นพบทันทีว่าปัญหาของคุณเอซังนั้นมันเบาบางลงไปมาก (บางอย่างเกิดจากปัญหาที่คุณเอซังก่อเอาไว้เองด้วยซ้ำไป)
 
ดังนั้น NLP จึงเสนอว่าเมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาขึ้น สิ่งที่เราควรทำก็คืออย่าเพิ่งจมอยู่ความรู้สึกเพียงด้านเดียว แต่ให้รวบรวมทัศนะคติจากบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่ 1 (เจ้าตัวเอง) บุคคลที่สอง บุคคลที่ 3 หรือแม้แต่มุมมองของแมลงวันที่เกาะอยู่บนผนัง (ที่กำลังเฝ้ามองเหตุการณ์ที่พวกเรากำลังประสบอยู่) จากนั้นจึงค่อยนำเอาข้อมูลที่ได้มาปะติดปะต่อกันเหมือนเอาแผนที่ลายแทงที่ถูกแยกเป็นส่วนๆ มาต่อให้เป็นชิ้นเดียวกัน เมื่อสามารถมองเห็นภาพรวมของเหตุการณ์ เราก็ย่อมเข้าใจปัญหาได้ดีมากขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ขั้นตอนของการแก้ปัญหาในที่สุด
 
แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งมุมมองของแต่ละบุคคล ...วิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือ “อยากรู้ก็จงถาม” หรืออย่างน้อยที่สุดก็ลองสวมบทบาทเป็นบุคคลนั้นๆ ดูโดยถามตัวเองว่า “ถ้าฉันเป็นเขา ฉันจะรู้สึกอย่างไร”
 
ในท้ายที่สุดนี้ ผมขอสรุปเทคนิค Multiple Perceptual Positions ของ NLP ด้วยสำนวนไทยๆ ที่ว่า
 
 “จงเอาใจเขา มาใส่ใจเรา”
 
Ref : Neruo Linguistic Programming / Neuro / LinguisticProgrammingConscious / Sub-Conscious (Unconscious) /