ทฤษฎีบุคลิกภาพ: Erik H. Erikson

   


Erikson เป็นหนึ่งในนักจิตวิทยาที่สืบทอดความคิดของฟรอยด์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มาขยายความศึกษาต่อเนื่องอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางเหนือนักจิตวิเคราะห์กลุ่ม Freud ท่านอื่น ๆ ทั่วไปแนวความคิดของลักษณะความขัดแย้งทางลักษณะบุคลิกภาพของ Erikson นั้นแบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอนดังนี้
 
1. ทารกตอนต้น (ขวบแรก) (Trust vs. Mistrust)
เด็กในระยะนี้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เพื่อให้เด็กทำให้เด็กรู้สึกว่าโลกนี้มีหวัง โลกนี้น่าอยู่ เมื่อเป็นทุกข์ก็จะมีคนช่วยความรู้สึกนี้ นำไปสู่ความใว้วางใจคนที่อยู่ใกล้ชิด และขยายวงไปสู่ความไว้วางใจตนเองและผู้อื่น
 
2. ทารกตอนปลาย (ปีที่สอง) (Autonomy vs. Shame and Doubt)
ในระยะนี้บุคคลที่เป็นศูนย์กลางความสัมพัน์คือพ่อแม่ของเด็ก ในระยะนี้กล้ามเนื้อของเด็กจะเริ่มพัฒนา พ่อแม่ควรจะปล่อยให้เด็กมีอิสระในการสำรวจโลกด้วยตัวเอง เด็กจะพัฒนาบุคลิกาพในเชิง ความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) หากทารกถูกห้ามบ่อย ๆ ก็จะรู้สึกว่า การทำอะไรเองเป็นสิ่งที่ไม่ดี จึงพัฒนาเป็นบุคลิกในเชิง ไม่แน่ใจ (Doubt)
 
3. อนุบาล(สามถึงห้า) (Initiative vs. Guilt)
ในระยะนี้บุคคลผู้เป็นศูนย์กลางความสัมพันธ์คือ สมาชิกในครอบครัว เด็กจะเริ่มมีความคิดสร้างสรรค์ เริ่มสื่อสารได้ดีมากขึ้น เด็กช่วงนี้จะซุกซนมาก ถ้าผู้ปกครองสนับสนุนให้เด็กสามารถ Making plan สำหรับตนเองได้ ก็จะเสริมบุคลิกภาพในด้านความคิดริเริ่ม หากเด็กถูกห้ามไม่ให้แสดงความคิดสร้างสรรค์ พ่อแม่ห้ามไม่ให้เล่นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กจะพัฒนาความรู้สึกผิดและกลัวลงโทษ จะพัฒนาบุคลิกภาพแบบรู้สึกผิด จะเป็นคนที่ชอบหลีกหนีความจริงโดยใช้ความฝัน หรืออาจเป็นพวกก้าวร้าวอวดดี เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา
 
4. ประถม (หกถึงสิบสอง) (Industry vs. Inferiority)
ในระยะนี้เพื่อนจะเป็นบุคคลที่มีบทบาทในชีวิตของเด็ก เด็กที่ มีครู พ่อแม่ ช่วยเหลือ แนะนำการเรียน การเล่น ตั้งความหวังกับเด็กอย่างพอควร และให้อภัยเมื่อเด็กทำไม่ได้ดังใจปรารถนาของตัวเองและของผู้ใหญ่ จะทำให้เด็กมีความมุมานะในการหัดเรียนหัดเล่น และทำกิจกรรมต่าง ๆ เด็กที่ไม่มีผู้ใหญ่คอยแนะนำและให้กำลังใจ หรือ ตั้งความคาดหมายเกินความสามารถของเด็ก จะทำให้เด็กรู้สึกต่ำต้อยไร้ความสามารถ จะก่อให้รู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยในทางใดทางหนึ่ง
 
5. วัยรุ่น (Identity vs. Identity Diffusion) (Role confusion)
Erikson เชื่อว่าระยะนี้เป็นระยะวิกฤตที่สุด เพราะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่ ในช่วงนี้เด็กจะต้องแสวงหาความเป็นตัวของตัวเอง หาตัวเองให้เจอ หากเด็กหาเจอเด็กคนนั้นก็จะชัดเจนในบทบาทของตนเอง เด็กวัยรุ่นผู้นั้นก็จะมีบุคลิกภาพหรืออัตลักษณ์สับสน วัยรุ่นเหล่านี้ เป็นวัยรุ่นที่ว้าเหว่ ไม่เป็นตัวของตัวเอง เหงาหงอย ขี้กังวล ตัดสินใจไม่ได้ รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งจนอาจกลายเป็นอันธพาล ติดยาเสพติด เป็นเด็กแว๊นท์ ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
 
6. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Intimacy and Solidarity vs. Isolation)
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชีวิตเพศ แบบผู้ใหญ่ เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ชีวิตเพศและชีวิตคู่ในช่วงพ้นวัยรุ่นมาแล้วต้องเป็นในแง่ การร่วมแบ่งปันความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน สำหรับบุคคลที่ไม่มีโอกาสพบชีวิตเพศก็ควรจะต้องมีมิตรอันสนิทสนมที่มีความไว้วางใจและนับถือซึงกันและกัน ถ้าผู้ใหญ่ซึ่งไม่สามารถสร้างความรู้สึกสนิทสนมจริงจังกับผู้หนึ่งผู้ใดได้ จะมีความรู้สึกอ้างว้างเดียวดาย ผู้ใหญ่ประเภทนี้ไม่สามารถ "ละตนเองเพื่อเข้าถึงผู้อื่น" ถ้ามีลักษณะเช่นนี้มาก ๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาบุคคลิกภาพที่รุนแรงได้
 
7. วัยกลางคน (Generativity vs. Self Absorption) (Stagnation)
จุดเด่นของของช่วงวัยกลางคน คือการ แบ่งปัน เผื่อแผ่ การแนะนำ การสร้างสรรค์ ทั้งในสิ่งเป็นวัตถุสิ่งของและความรู้ ความคิดความชำนาญต่าง ๆ ต่อบุคคลอื่น ต่อโลก และต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในวัยเยาว์กว่า หากขาดการแบ่งปัน, เผื่อแผ่,แนะนำแล้วผู้ใหญ่วัยกลางคนจะมีบุคคลิกภาพพะวักพะวงแต่ตัวเอง คนวัยกลางคนที่พะวงเฉพาะตน จะเป็นคนที่เห็นแก่ตัว แสดงแต่อำนาจไม่หยุดยั้ง อาจจะเป็นตำแหน่งหน้าที่การงาน หรืออำนาจทางทรัพย์สินเงินทองก็ได้ ซึ่งแอริคสัน กล่าวว่า คนเหล่านี้ฉาบอารมณ์และบุคลิกภาพอันไม่มั่นคงของตนเอาไว้ด้วยความใฝ่อำนาจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือแบบใดแบบหนึ่ง
 
8. ผู้ใหญ่ตอนปลาย (Integrity vs. Despair)
ในระยะนี้หากผู้ใหญ่คนนั้นสามารถผ่านทั้ง 7 ขั้นก่อนหน้านี้มาได้นั้นจะทำให้เป็นผู้ใหญ่ที่จะใช้ชีวิตอย่างเข้าใจชีวิต แต่ผู้สูงอายุบางคนเมื่อมองย้อนนึกถึงอาจรู้สึกอาลัยอาวรณ์ หรือยอมรับอดีตไม่ได้ (ปล่อยวางไม่ได้ทั้งความสำเร็จและล้มเหลว) หรือกลัวความตายที่คืบคลานเข้ามา