ความรักก็สำคัญ

   


ในปี 2014 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้สอบถามพ่อแม่ของเด็กวัย 14 ปีจำนวนหนึ่ง เพื่อสำรวจถึงประสบการณ์แย่ๆ ที่เกิดจากภายในครอบครัว
 
โดยตั้งคำถามเจาะจงไปที่ปัญหาในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะเบาะแว้งอย่างรุนแรง ความตึงเครียดระหว่างพ่อแม่ การขาดความรัก หรือการสื่อสารระหว่างคนในครอบครัว 
 
จากนั้นก็ถ่ายภาพสมองของเด็กในครอบครัวเหล่านี้ (เด็กจะมีอายุอยู่ในช่วง 17 ถึง 19 ปี) 
 
แล้วนักวิจัยก็ได้พบกับข้อเท็จจริงที่น่าตกใจว่า 
 
“ขนาด” และ “ปริมาตร” เนื้อสมองของเด็กในกลุ่มที่บ้านมีปัญหาเหล่านี้ มีขนาด “น้อยกว่า” เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกันที่บ้านไม่มีปัญหาความรุนแรง
 
และถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ปัญหาทั่วๆ ไปในครอบครัว เช่น ครอบครัวขาดความรัก ขาดความอบอุ่น หรือพ่อแม่ทะเลาะกัน แต่ถ้ามีลักษณะของปัญหาที่ค่อนข้างเรื้อรังและต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ มันก็สามารถทำให้พัฒนาการของสมอง “ลดขนาด” และ “ปริมาตร” ลงได้ด้วยเช่นเดียวกัน 
 
การที่พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยๆ การถูกดูถูก ดุด่า หรือทำให้อับอายอยู่เรื่อยๆ การถูกล้อเลียนอยู่เสมอ การหย่าร้างกันของพ่อแม่ และการที่พ่อแม่ออกไปจากชีวิตของเด็กก่อนเวลาอันควร 
 
รวมไปถึงที่เด็กเติบโตขึ้นจากพ่อแม่ที่ช่างตำหนิ มีอารมณ์ไม่มั่นคง หลงตัวเอง มีสภาวะทางจิต เช่น ไบโพล่า หรือโรคซึมเศร้า ติดสุรา ติดยาเสพติด การถูกทารุณกรรมทางร่างกายหรือจิตใจ หรือการถูกทอดทิ้ง 
 
หรือแม้แต่สิ่งกระตุ้นความเครียดที่ไม่ได้มาจากปัญหาครอบครัวก็ยังสามารถส่งผลกระทบได้เช่นเดียวกัน
 
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กโดยตรง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงบางอย่างใมนอนาคตเมื่อเหล่านี้กลายเป็นผู้ใหญ่
 
ดังนั้นแล้ว มันจึงไม่ได้มีแต่เรื่องของการพัฒนาสมองของเด็กเท่านั้น
 
หากแต่ "ความรักก็สำคัญ"