การสะกดจิตคืออะไร

   


การสะกดจิตนั้นมาจากคำว่า Hypnosis ในภาษาอังกฤษ หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการกับข้อมูลในจิตใต้สำนึกของตัวเองหรือผู้อื่น 
บางทีก็เรียกศาสตร์นี้ว่าการสั่งจิตใต้สำนึก ส่วนการสะกดจิตที่ถูกใช้เพื่อการบำบัดแก้ไขปัญหา บางอย่างที่เกิดขึ้นเราจะเรียกว่า การสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy)
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
คำว่า Hypnosis ความจริงแล้วมาจากภาษากรีกว่า Hypnos ซึ่งหมายถึง "การนอนหลับ"
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าในยุคแรกๆ มีการตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อทำการสะกดจิตในแต่ละครั้ง ผู้ที่ได้รับการสะกดจิตจะรู้สึกเคลิบเคลิ้มคล้ายกับว่าได้หลับลงไป จึงเข้าในกันในชั้นแรกๆ นี้ว่าการสะกดจิตจะเป็นการทำคนให้หลับไป แล้วอาศัยจังหวะในระหว่างเคลิ้มหลับนี้ทำชักจูงจิตของผู้ถูกสะกดจิตให้เป็นไปตามทิศทางที่นักสะกดจิตต้องการ
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
แต่ต่อมาเมื่อศาสตร์นี้ได้มีการค้นคว้าและทดลองปฏิบัติต่อกันมาเป็นเวลานาน ในที่สุดก็ได้พบว่าความจริงแล้วผู้ที่ได้รับการสะกดจิตนั้นไม่ได้หลับลงไปเสียทีเดียว เป็นแต่เพียงว่าจิตในชั้นจิตสำนึกหยุดทำงานไปเท่านั้น จึงทำให้ดูเสมือนว่ากำลังนอนหลับ ยิ่งกว่านั้นในหลายกรณี
เราพบว่าผู้รับการสะกดจิตนอกจากจะไม่ได้หลับลงไปแล้วกลับยังมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน เพียงแต่ขณะนั้นอยู่ในสภาวะที่จิตใจคล้อยตามคำสั่งของผู้สะกดจิตเท่านั้น
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
เช่นการสะกดจิตแล้วสั่งว่าให้หลับ ความจริงแล้วก็ไม่ได้หลับ เพียงแต่จิตใจถูกผู้สะกดจิตชักจูงให้คล้อยตามคำสั่ง จึงทำแสร้งหลับไปตามคำสั่งทั้งที่ความจริงแล้วจะตื่นขึ้นมาเมื่อใดก็ย่อมทำได้ เพียงแต่ไม่ยอมทำเพราะขณะนั้นจิตได้คล้อยตามคำสั่งของนักสะกดจิตไปแล้ว 
แต่ในหลายๆกรณีก็พบว่ามีการหลับลงไปจริงๆ ในขณะสะกดจิตได้เหมือนกัน เช่นในการสะกดจิตบำบัดที่มักจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน เราก็พบว่าบ่อยครั้งผู้รับการสะกดจิตได้หลับลงไปก่อนการสะกดจิตจะเสร็จสิ้น แต่ก็ไม่ผลอะไรต่อการสะกดจิตมากนัก เพราะถึงแม้ว่าจะหลับไปแล้วก็ตาม แต่จิตใต้สำนึกก็ยังคงเก็บข้อมูลการสะกดจิตอยู่ตลอดตามเงื่อนไขที่นักสะกดจิตสร้างขึ้นในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการสะกดจิต
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
สำหรับในประเทศไทยเมื่อพูดถึงการสะกดจิต ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นคำที่ไม่สู้จะชวนให้คนส่วนใหญ่นึกไปทางบวกมากนัก ผู้คนโดยมากจะเข้าใจไปทำนองว่าการสะกดจิตคือไสยศาสตร์ หรือเป็นพลังลึกลับเหนือธรรมชาติ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย การสะกดจิตเป็นเพียงแค่องค์ความรู้ทางจิตวิทยาที่นำเอาธรรมชาติการรับรู้ข้อมูลบางอย่างของสมองและระบบประสาทมนุษย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่านั้น
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
ดังนั้นต่อมายภายหลังจึงมีนักสะกดจิตระดับครูบาอาจารย์หลายท่านรณรงค์ให้เรียกการสะกดจิตหรือ Hypnosis นี้เสียใหม่ว่า "การสั่งจิต" ซึ่งฟังแล้วมีความหมายถูกต้องตามกระบวนการที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังไม่ให้ความรู้สึกน่ากลัวเหมือนคำเก่าๆ
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
แต่อย่างไรก็ตามเราก็คงปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าการสั่งจิตก็คืออย่างเดียวกับการสะกดจิตหรือ Hypnosis ตามที่คนไทยเราคุ้นเคยกันมานั่นเอง
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
โดยเหตุผลที่คนไทยในสมัยก่อนเรียก Hypnosis ว่าการสะกดจิตก็ไม่ใช่อื่นไกล เหตุผลก็เพราะคนในสมัยไปก่อนเพ่งเล็งเอาว่าการสะกดจิตทำมห้เกิดสภาพการเคลิ้มหลับ จึงเข้าใจไปว่าผู้ทำ Hypnosis สามารถ "สะกด" จิตใจของผู้คนให้หลับไหลลงไปได้นั่นเองซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับการที่ชาวตะวันตกเรียกเทคนิคนี้ว่า Hypnosis ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
เพื่อให้มีความเข้าใจต่อการสะกดจิตมากยิ่งขึ้น เรามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับเรื่องของจิตกันมากขึ้นอีกซักหน่อย
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
ก่อนอื่นท่านต้องทราบก่อนว่า จิต (Mind) ซึ่งในที่นี้หมายถึงผลการทำงานของสมองถูกนักจิตวิทยาแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ ด้วยกัน
เรียกว่าจิตสำนึก (Conscious Mind) และจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind) โดยจิตทั้งสองส่วนนี้มีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ทำงานผสมผสานมีอิทธิพลซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
จิตสำนึกก็คือจิตใจ ความนึกคิด สติปัญญา ความมีเหตุผล หรือส่วนความรู้สึกถึงตัวตนที่เรามีอยู่ในขณะที่เรายังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ความจำหรือข้อมูลในจิตสำนึกนี้เป็นไปอย่างชั่วคราวสามารถลบเลือนหายหรือบิดเบือนได้ จิตส่วนนี้ถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อยของจิตทั้งหมด
 
สำหรับจิตใต้สำนึกจะถือว่าเป็นจิตส่วนใหญ่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลอย่างถาวร การทำงานของจิตใต้สำนึกนี้จะเป็นไปโดยไม่มีเหตุผล แต่จะอาศัยกลไกการทำงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งก็คือความเคยชินนั่นเอง ดังนั้นเมื่อจิตใต้สำนึกทำงานแล้วมันจึงมีอิทธิพลเหนือจิตสำนึก (ความเคยชินมักอยู่เหนือเหตุผล) แต่โชคดีที่จิตใต้สำนึกนี้จะไม่ทำงานอย่างเต็มกำลังอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะมีสิ่งเร้าบางอย่างไปกระตุ้นการทำงานของมัน
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
นอกจากนี้ผลการทำงานจากจิตใต้สำนึกยังถูกนำไปใช้ผลักดันการทำงานของจิตสำนึกอย่างเงียบๆ อีกด้วย
 
การสะกดจิตเป็นเทคนิคว่าด้วยการเข้าถึงของมูลในสมองในส่วนที่เรียกว่า "จิตใต้สำนึก" (Subconscious Mind) แล้วก็เข้าไปจัดการทำให้ข้อมูลในจิตใต้สำนึกเป็นไปตามที่มันควรจะเป็น
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
เช่นถ้ามีข้อมูล "ความขี้เกียจ" อยู่ในจิตใต้สำนึก ข้อมูลนี้จะไปขับดันให้พฤติกรรมของเจ้าตัวให้มีแนวโน้นที่แสดงออกหรือมุ่งไปทางด้าน "ขี้เกียจ" ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหานักสะกดจิตบำบัดก็จะอาศัยเทคนิคทางจิตวิทยาบางประการที่เรียกว่าการสะกดจิต (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยากหรือลึกลับอะไร) เพื่อทำให้จิตใต้สำนึกอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะรับรู้ต่อคำแนะนำใหม่ๆ ที่มีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น จากนั้นนักสะกดจิตบำบัดก็จะให้คำแนะนำ ซึ่งเปรียบเสมือนการป้อนข้อมูล "ความขยัน" เข้าไปเพื่อให้ทำงานแทนที่ข้อมูลที่เคยมีอยู่เดิมคล้ายๆ กับโปรแกรมเมอร์ที่พยายามเข้าไปแก้ไขข้อผิดพลาดบางอย่างของโปรแกรมที่กำลังเกิดขึ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
การทำแบบนี้จะส่งผลให้ผู้ได้รับการสะกดจิตเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับแรงขับดันจากจิตใต้สำนึก ซึ่งหมายความว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้จะไม่ขัดกับความรู้สึกหรือความต้องการของเจ้าตัวแต่อย่างใด (ไม่ฝืนความรู้สึกหรือความเคยชิน) ดังนั้นจึงไม่เป็นที่หน้าแปลกใจเลยว่าทำไมเทคนิคการสะกดจิต หรือ Hypnosis นี้จะเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรืออื่นๆ โดยการสะกดจิตมักถูกนำมาใช้ทั้งในแง่ของการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากข้อมูลที่เป็นลบ
ที่กำลังทำงานอยู่ภายในสมองและระบบประสาท (เช่นความทุกข์ ความเศร้า ความเจ็บปวดในจิตใจ) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ หรือแม้แต่การพัฒนาทักษะและศักยภาพในด้านต่างๆ สู่ความเป็นเลิศยิ่งๆ ขึ้นไป
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด