การสะกดจิตกับการบำบัดผู้ติดยาเสพติด

   


คำถามมีอยู่ว่า การสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy) สามารถนำมาใช้เพื่อการบำบัดผู้ติดยาเสพติดได้หรือไม่? 
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
คำตอบคือ การสะกดจิตย่อมนำมาใช้เพื่อการบำบัดผู้ติดยาเสพติดได้อย่างแน่นอน แต่จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน สำหรับเรื่องนี้มันมีปัจจัยที่สำคัญเข้ามาเกี่ยวข้อง 6 ประการด้วยกันคือ
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
1. ผู้รับการบำบัดจะต้องตระหนักถึงปัญหาของตนเองและต้องมีความยินดีที่จะเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีการสะกดจิตบำบัดอย่างเต็มที่ นี่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่เราต้องคำนึงถึง จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาพบว่าการบำบัดในหลายกรณีไม่ได้ผลเท่าที่ควรเนื่องจากผู้รับการบำบัดไม่ได้ตระหนักหรือต้องการรับการบำบัดอย่างแท้จริง บ่อยครั้งที่ผู้รับการบำบัดมาเพื่อตัดปัญหาจากคนรอบตัว เมื่อกระบวนการเดินไปด้วยความเต็มใจที่แอบแฝงอยู่ความสำเร็จจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้รับการบำบัดมีความต้องการอย่างเต็มที่แล้วกระบวนการบำบัดก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างเต็มที่
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
2. ก็เหมือนกับการสะกดจิตบำบัดเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ คือผู้รับการบำบัดจะต้องมีบุคลิกที่เปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดี ไม่ยึดติดกับความเคยชินเก่าของตัวเองมากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการสะกดจิตเพื่อเรื่องอะไรก็ตามปัญหาจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อต้องพบกับคนที่มีบุคลิกปิดกั้นหรือมีความดื้อรั้นสูง
 
3. แน่นอนว่าผู้รับการบำบัดจะต้องมีความไว้วางใจต่อกระบวนการบำบัดและผู้ให้รับการบำบัด ความหวาดระแวง ความกังวล ตลอดจนความเคลือบแคลงสงสัยจะนำไปสู่การปิดกั้นซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการสะกดจิต
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
4. สมองและระบบประสาทของผู้รับการบำบัดจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารอยู่ในระดับมาตรฐาน สามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้อย่างเต็มที่ หลายกรณีที่ผู้รับการบำบัดผ่านการใช้ยาเสพติดมากเสียจนสมองเกิดความเสียหายไม่สามารถที่จะสื่อสารหรือควบคุมตนเองได้อย่างสมบูรณ์ ในกรณีแบบนี้ไม่สามารถที่จะทำการบำบัดได้ครับ
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
5. หากผู้รับการบำบัดยังอยู่ในในภาวะใช้ยา การสะกดจิตบำบัดจะมีบทบาทเป็นการบำบัดทางเลือกเสริมเท่านั้น ผู้รับการบำบัดควรพบแพทย์เพื่อทำกระบวนการเลิกยาเสพติดโดยใช้การสะกดจิตบำบัดเป็นตัวเสริมในการจัดการกับสภาพจิตใจเพื่อให้ผลของการเลิกยาเกิดขึ้นอย่างเต็มที่
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด
6. ในกรณีที่ผู้บำบัดเลิกใช้ยาแล้ว การสะกดจิตจะบทบาทในแง่ของการเสริสร้างความมั่นคงของบุคลิกภาพเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะกลับไปใช้ยาอีกซึ่งกลับไปใช้ยานี้เองที่เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในกระบวนการเลิกยาเสพติด
สะกดจิต NLP การสะกดจิตคืออะไร Hypnosis และ Hypnotherapy สุขภาพจิต จิตใต้สำนึก การสะกดจิตและสะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี สะกดจิตบำบัด