การรับฟัง

   

วันหนึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการบรรยาย ผู้เข้าสัมมนาคนหนึ่งเล่าให้ผมฟังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนักระวังเขากับลูกชาย โดยเขาเล่าให้ฟังว่า
.
“ผมเข้าใจลูกชายของผมเป็นอย่างดี ผมผ่านร้อนผ่านหนาวมาก่อน จึงรู้ดีว่าเขากำลังมีปัญหาอะไรอยู่ ผมรู้เลยว่าเขาจะต้องพบเจออันตรายและอุปสรรคอะไรบ้างในอนาคต แต่ลูกชายของผมเขาก็ไม่เชื่อฟังคำแนะนำอะไรจากผมเลย”
.
ผมจึงบอกกับผู้เข้าสัมมนาท่านนี้ว่า
.
“ผมขอแนะนำอะไรคุณสักอย่างได้ไหม คือผมอยากให้คุณสมมุติว่าคุณยังไม่เข้าใจอะไรเกี่ยวกับลูกชายของคุณเลย อาจจะคิดว่าเขาเป็นคนอื่นที่คุณไม่รู้จักก็ได้นะ และขอให้คุณเริ่มต้นใหม่ในการรับฟังเขาโดยไม่ตัดสินใจอะไรไปก่อน ทำแบบนี้จะได้ไหม?”
.
“ถึงผมจะไม่เชื่อมั่นในวิธีการนี้ซักเท่าไหร่ แต่ผมก็จะลองดูครับ” เขาตอบกลับมาแบบนี้
.
เขามาเล่าให้ฟังทีหลังว่า เวลาสองทุ่มของคืนหนึ่ง ลูกชายของเขาเอ่ยขึ้นว่า
.
“พ่อครับ ผมคิดว่าพ่อไม่เข้าใจอะไรผมเลย!”
.
เขาสารภาพว่าตอนนั้นโกรธมาก และอยากจะจบการสนทนานั้นในทันที แต่เขาก็ได้ให้คำมั่นสัญญากับตัวเองเอาไว้แล้วว่าจะลองรับฟังดู ก็เลยกล่าวกับลูกชายไปว่า
.
“เอาเถอะ อาจจะจริงก็ได้ที่พ่อไม่เข้าใจ ถ้าอย่างนั้นลูกก็ลองเล่าเรื่องของลูกให้พ่อฟังหน่อยซิ”
.
หลังจากนั้นการสนทนาก็ดำเนินไปกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง
.
เขายอมรับกับผมอย่างซาบซึ้งว่า “ผมไม่เคยตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมาผมไม่รู้จักลูกชายของผมอย่างแท้จริงเลย ไม่เคยเลยที่จะเปิดโอกาสให้ลูกชายได้แสดงตัวตนหรือความเป็นตัวของเขาเองออกมา”
.
และเขาก็ปิดท้ายการสนทนาว่า
.
“ ลูกชายและผมได้ค้นพบตัวตนของกันและกัน เรากลับมาเป็นมิตรกันอีกครั้ง”
.
#การสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะ #ปัญหาความขัดแย้งแก้ได้ด้วยการสื่อสาร
.
คนส่วนใหญ่มักจะไม่ฟังด้วยความพร้อมที่จะเข้าใจคู่สนทนา แต่จะฟังด้วยความเคยชินและความพร้อมที่จะตอบโต้กลับ คือถ้าไม่ได้กำลังพูดก็เตรียมที่จะพูดเสียเอง พวกเขามักกลั่นกรองทุกถ้อยคำที่ได้ยินโดยอาศัยกรอบความคิดของตนเอง ใช้ชีวประวัติของตนเองในการตัดสินชีวิตของผู้อื่น
.
ภารกิจของคนๆ หนึ่ง อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับอีกคนหนึ่ง เช่นคุณอาจกำลังทำงานที่สำคัญมากในขณะที่ลูกน้อยวัย 6 ขวบนำเรื่องที่ดูเหมือนว่าไร้สาระมากวนใจคุณ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนั้นอาจเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขาเลยก็ได้
.
เรากำลังปล่อยให้บทสนทนาของเรากลายเป็นเครื่องผูกขาดทางความคิด
.
เพราะเราไม่เคยเข้าใจสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของผู้อื่นอย่างแท้จริง
.
#การสื่อสารจึงสำคัญ
#การรับฟังมากต่อการสื่อสาร
#หัวใจของการสื่อสารคือการเข้าใจกันและกัน
 
smiley
 
เรียบเรียงจากหนังสือ “คำสอนสุดท้าย” ของ Stephen R. Covey