Totem and Taboo
จากการศึกษาอารยธรรมดึกดําบรรพ์ที่ยังหลงเหลืออยู่เช่นอินเดียนบางเผ่า หรือชาวอบอริจิ้น ที่ยังเป็นวัฒนธรรมดึกดําบรรพ์ ความเป็นจารีตสังคมน้อยมาก
ซิคมันด์ ฟรอยด์ มีความเห็นว่าเพศผู้ๆ เป็นพ่อ (จ่าฝูง) ย่อมมีอำนาจสิทธิ์ขาดในทุกสิ่งของเผ่า(ฝูง) ไม่ว่าจะเป็นอณาเขต อาหาร หรือเพศเมีย (แม่) ดังนั้นจึงเป็นแรงผลักดันให้บรรดาลูก (คนรุ่นหลัง) จำเป็นที่จะต้องไปสู่การต้องโค้นล้ม (ฆ่า) ผู้เป็นพ่อหรือหัวหน้าเผ่าเพื่อถ่ายเปลี่ยนอำนาจ
แต่อย่างไรก็ตามความรู้สึกผิดบาปที่โค้นล้มพ่อลงไปนั้นย่อมต้องมีอยู่ จึงนำไปสู่การสร้าง Totem (เสาสำหรับสักการะวิญญาณบรรพบุรุษ) เพื่อเป็นเครื่องหมายระลึกถึงพ่อหรือบรรพบุรุษรุ่นก่อน (ที่ถูกคนรุ่นใหม่โค้นล้มลง) และตามมาด้วย Taboo หรือกฏข้อห้ามประจำเผ่า
มีการค้นพบว่าข้อห้ามที่เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ที่สุดก็คือการห้ามละเมิดเพศเมียในเผ่า(ฝูง)เดียวกัน เนื่องจากแรงขับดันเรื่องการสำนึกต่อพ่อที่ถูกโค้นล้ม (เพราะพ่อเคยเป็นเจ้าของเพศเมียทั้งหมด)
แม้กฏข้อห้ามจะกำหนดออกมาอย่างนั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ปรากฏว่าบ่อยครั้งเหลือเกินที่ข้อห้ามเหล่านั้นถูกละเมิดโดยผู้เป็นจ่าฝูงคนใหม่เสียเอง
ซิคมันด์ ฟรอยด์ เอาลักษณะวิวัฒนาการทางจารีตและสังคมนี้ไปเปรียบเทียบกับคนป่วยทางจิตใน รพ. ซึ่งเขาได้สังเกตว่ามักมีวางเงื่อนไขหรือกฏแปลกๆ แล้วก็สรุปออกมาว่านี่เป็นเรื่องของแรงขับดันจากจิตใต้สำนึกซึ่งแสดงออกมาในทิศทางเดียวกับวิวัฒนาการทางจารีตและสังคม
คือความรู้สึกผิดนำไปสู่การกำหนดข้อห้าม แต่อเมื่อข้อห้ามถูกสร้างขึ้น มันก็จะนำไปสู่ความต้องการที่จะละเมิดข้อห้ามเหล่านั้นเสียเอง
ทางออกโดยปรกติจึงอยู่ที่การ "เก็บกด" หรือตัดสินใจที่จะ "ละเมิด" ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคำตอบก็มักจะเป็นการเก็บกด
หากความรู้สึกต้องการละเมิดมีอย่างมากมายมหาศาล แต่ก็ยังคงถูกเงื่อนไขบางอย่างกดดันเอาไว้จนไม่สามารถแสดงออกได้ ท้ายที่สุดแรงกดดันนั้นก็จะนำไปสู่ปัญหาทางจิต
ดังนั้นในยุคสมัยของฟรอยด์ เขาจึงใช้การสะกดจิตบำบัดเพื่อมุ่งเน้นไปสู่กระบวนการระบายและปลดปล่อยความเก็บกดเหล่านั้นออกมา (เช่นการสะกดจิตย้อนอดีตเพื่อให้เกิดความสะเทือนใจและระบายออก)
ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ ทฤษฎี Totem and Taboo จะถือว่าเป็นเรื่องล่าสมัยมากแล้ว การสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ก็ไม่ได้มุ่งเน้นให้เกิดการระบายออกดังเช่นในสมัยของฟรอยด์อีกต่อไป (ความจริงนักจิตวิทยารุ่นใหม่ๆ มีทีท่าจะดูถูกดูแคลนทฤษฏีของฟรอยด์เสียด้วยซ้ำไป)
แต่ยังไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าแนวความคิดของฟรอยด์เหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญอันจะนำไปสู่วิชาจิตวิทยาสมัยใหม่แขนงต่างๆ ในเวลาต่อมา