George Kelly การบำบัดจิต
George Kelly: การบำบัดจิต
นักบำบัดควรตีความบทบาทของตัวเองอย่างกว้าง ๆ ถ้าผู้ป่วยเห็นว่าการบำบัดมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเท่านั้น ผู้บำบัดก็ควรเริ่มจากข้อคิดวงแคบ ๆ เพื่อให้คนไข้เริ่มเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง
เทคนิคการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
1. การขู่ หมายถึง การทำให้คนไข้รู้ว่าเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดในไม่ใช้ โดยการชี้ให้เห็นว่ามีหนทางใหม่ ๆ ที่จะคิดถึงเพื่อให้มีเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เช่น ถ้าไม่ทำ ... จะเกิด ...
2. การทำให้เป็นโมฆะ หมายถึง การที่ผู้บำบัดพิสูจน์ให้คนไข้เห็นได้ว่าความคิดเดิมของคนไข้นั้นผิด โดยชี้ให้เห็นได้ว่าทำไมความคิดดังกล่าวจึงใช้ไม่ได้
3. การเคี่ยวเข็ญ หมายถึง การที่ผู้บำบัดมีส่วนช่วยผลักดันให้คนไข้ทำอย่างอื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าพฤติกรรมที่เขานั้นกระทำอยู่
เทคนิคการสร้างความเปลี่ยนแปลงมาก
ผู้บำบัดจะต้องทำให้คนไข้เชื่อว่าเขาเป็นที่ยอมรับของผู้บำบัดที่ต้องใจช่วยให้เขาสามารถหาทางคิดแก้ปัญหาที่ถูกต้อง โดยที่การยอมรับไม่ได้หมายถึงการรับสิ่งที่คนไข้เป็นอยู่ แต่เป็นความพร้อมที่จะเข้าใจระบบความคิดของคนไข้ และใช้ระบบความคิดของคนไข้เองเป็นตัวช่วยบำบัดจิตของเขา ทั้งนี้ผู้บำบัดจะต้องเข้าใจระบบความคิดของตนเองอย่างแจ่มชัดและถูกต้อง พวกเขาจะต้องสามารถเข้าใจและเห็นใจคนไข้โดยที่ตัวเองไม่เสียจุดยืนของตนไป
ผู้บำบัดจะต้องช่วยให้คนไข้ "คิดได้" (controlled elaboration) คือ ทำให้ระบบความคิดของคนไข้มีความสอดคล้องกันในตัวและสื่อกันได้ โดยที่บทบาทสำคัญของผู้บำบัดคือเป็นผู้แนะว่าจะต้องเพิ่มความคิดใหม่เข้าไปในระบบความคิดเก่า เช่น เธอควรคิดด้วยว่าพ่อเลี้ยงของเธอก็ดีกับน้องชายเธอเหมือนกัน หรือช่วยสร้างความคิดใหม่ เช่น บาทหลวงเป็นคนช่วยเธอให้เข้าใจว่าทำไมเธอถึงไม่แน่ใจว่าพระเข้ามีจริงหรือไม่
การแนะแนวดังกล่าวจะทำให้คนไข้ร้อนใจเพราะความคิดใหม่นี้อยู่นอกเหนือไปจากระบบเก่า ความร้อนใจเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะมันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบความคิด นอกจากนี้แล้วผู้บำบัดจะต้องช่วยคนไข้ให้สามารถใช้ความคิดปัจจุบันในการแก้ปมปัญหาซึ่งเกิดขึ้นแต่วัยเด็ก โดยการใช้ความคิดใหม่ที่เป็นผู้ใหญ่ในการแก้ปัญหาเก่า ๆ ให้เสร็จสิ้นไป
Self-Characterization Sketches
การบำบัดจิตอีกวิธีของ Kelly คือ การที่ผู้บำบัดขอให้คนไข้เขียนบรรยายเรื่องเกี่ยวกับตัวเองขึ้นมา เนื่องด้วยวิธีนี้คนไข้จะเป็นผู้บอกผู้บำบัดเองว่าเขามีอะไรผิดปกติอยู่ในใจ โดยที่วิธีการนี้จะให้คนไข้จินตนาการว่าตัวเองเป็นตัวละครเอกซึ่งเขียนบทโดยเพื่อนคนหนึ่งที่รู้จักเขาดีและเห็นใจเขา วิธีนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้รู้สึกอึดอัดและกลัวความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวเอง
Fixed-Role Therapy
หลังจากที่คนไข้ได้ร่างเรื่องแล้ว ผู้บำบัดจะทำการตีความความผิดปกติของคนไข้ แล้วจึงเขียน fixed-role sketch ขึ้นมา และให้คนไข้เล่นบทบาทอื่น ๆ ที่ผู้บำบัดกำหนดไว้ เป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง ซึ่งจะทำให้คนไข้เห็นความหมายของประสบการณ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น บทบาทต่าง ๆ เหล่านั้นต้องไม่ใช่บทบาทที่ทำให้ผู้ประสบปัญหาเสียขวัญ แต่เป็นบทบาทที่ทำให้เขา "รู้จักการเปลี่ยนแปลง"
เคลลี่ยังเสนอให้มีการทำจิตบำบัดแบบกลุ่ม การใช้วิธี "บทบาทสมมติ" ใช้ได้ดีกับจิตบำบัดแบบกลุ่ม ซึ่งคนในกลุ่มหลาย ๆ คน จะช่วยให้ผู้ที่แสดงบทบาทได้ "แสดงออก" วิธีการบทบาทสมมติยังช่วยให้บุคคลเข้าใจโครงสร้าง" ของบุคคลอื่น ไม่ใช่หมกมุ่นอยู่กับโครงสร้างเฉพาะตน หรือเฉพาะกลุ่มสังคมของตนอีกด้วย