Alfred Adler วิถีชีวิตและตัวตนที่สร้างสรรค์

   


ตามทฤษฎีของ Adler มี 2 ประเด็นซึ่งเกี่ยวโยงกัน ประเด็นแรกคือ วิถีชีวิต The Style of Life แต่เดิมเขาเรียกความคิดนี้ว่า life plan or guiding image หมายถึงวิถีเฉพาะที่คนใช้มุ่งสู่เป้าหมายนักแสดงพยายามมุ่งหาความสมบรูณ์แบบโดยการเรียนรู้ การเล่นบทบนเวทีและเล่นหนัง นักวิชาการมุ่งความเหนือกว่าโดยการอ่านหนังสือ เรียนรู้และคิด หรือโดยการถกปัญหากับเพื่อน สำหรับ Adler วิถีชีวิตพิเศษของเราเริ่มก่อตัวตั้งแต่ห้าขวบแรกของชีวิต ส่วนประสบการณ์ช่วงหลังของชีวิตจะได้รับการรวบรวมและตีความให้เข้ากับการประสบการ์ณของพฤติกรรมตอนเด็ก วิถีชีวิตเหล่านี้เกิดจากการมีปมด้อยไม่ว่าจะมีจริงหรือไปคิดเอง แต่ทันทีที่มันก่อตัวจะมีถูกแก้ไขได้ยาก
 
ส่วนแนวคิดที่สองคือ creative self หรือตัวตนที่สร้างสรรค์เกิดจากความห่วงใยของAdlerเกี่ยวกับการมองวิถีชีวิตในเชิงครอบครองจักรวาลเกินไป Adler ไม่พอใจความคิดที่ว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ตามแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (stimulus response) เพราะการมองอย่างนี้ทำให้เห็นผู้คนว่าเป็นผู้รับที่เฉยๆไม่มีการตีความและไม่มีการทำอะไรกับประสบการณ์
คำว่า creative self (ตัวตนที่สร้างสรรค์) หมายความว่ามนุษย์สามารถสร้างบุคลิกของตนเองจากประสบการณ์และสิ่งซึ่งตกทอดจากบรรพบุรุษ มนุษย์รับผิดชอบต่อชะตากรรมของตนเอง บุคคลที่สุขภาพจิตดีมักจะรู้จักทางเลือกในการแก้ปัญหา และเลือกที่จะกระทำอย่างมีเหตุผลและมีความรับผิดชอบ ส่วนคนที่เป็นโรคประสาท (neurotics) ก็มักจะมีเป้าหมายที่ไร้สำนึก ไร้การคิดคำนึง ตรึกตรงให้ถี่ถ้วน และบ่อยครั้งไม่รู้จักทางเลือกที่มีอยู่ในสถานการณ์ที่เขาเป็นอยู่