จุดเริ่มต้นของ NLP

   


 

จุดเริ่มต้นของ NLP เริ่มขึ้นในขณะที่ ริชารด์ แบนด์เลอร์ กำลังฟังเทปบันทึกการบำบัดของนักจิตวิทยาประเภท Gestalt ที่ชื่อ ฟริตซ์ เพิรล์ (Fritz Perl) เพื่อที่จะทำเป็น project ส่งให้ ดร.โรเบิรต์ สปิตเซอร์ (Robert Spitzer) ซึ่งในขณะที่กำลังฟังการบำบัดของ ฟริตซ์ อยู่นั้น ริชาร์ด แบนด์เลอร์ รู้สึกว่าคำพูดบางคำและประโยคบางประโยคของ ฟริตซ์ มีอิทธิพลต่อความคิดของตนมากส่งผลให้เขาเกิดความรู้สึกคล้อยตามและมีอารมณ์ร่วม ด้วยความฉงนสังสัย ริชารด์ แบนด์เลอร์ จึงได้นำประเด็นนี้ไปปรึกษากับ จอห์น กรินเดอร์ ผู้เป็นอาจารย์ของเขา ซึ่งทั้งสองก็ได้ร่วมกันศึกษาเทปของ ฟริตซ์ เพิรล์เพื่อหาคำตอบ และยังได้ทำการสังเกตการทำงานนักจิตวิทยาอีกคนที่ชื่อว่า เวอจีเนีย ซเทียร์ (Virgina Satir) เป็นการเพิ่มเติม จนกระทั่งพวกเขาทั้งสองสามารถคิดค้นหลักการ Meta Model ที่เป็นหลักการว่าด้วยเรื่องของการเสาะหาข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้พูดขึ้นมาได้
 
Meta model นั้นนับว่าเป็นผลงานที่แปลกใหม่ในวงการจิตวิทยา จนกลายเป็นที่สนใจของนักมานุษยวิทยาที่ชื่อ เกรกอรี่ เบตสัน (Gregory Bateson) ผู้ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการค้นพบเทคนิคต่างๆของ NLP ยุคเริ่มต้น เช่น Logical levels, Double bind theory, Cybernetic epistemology, และ Cultural relativism
 
หลังจากนั้นไม่นาน เกรกอรี่ ก็ได้แนะนำให้ ริชารด์ และ จอห์น ห้รู้จักกับ ดร. มิลตัน อิริคสัน (Dr. Milton Erickson) ซึ่งปรมาจารย์ด้าน การสะกดจิตบำบัด (Clinical hypnotherapy) จากการที่ นาย ริชารด์ และ จอหน์ ได้พบกับ ดร.มิลตัน อริคสัน ทำให้พวกเขาได้มีโอกาสศึกษาและสังเกตการทำงานของ ดร.มิลตัน และได้รวบรวมเทคนิคกับรูปแบบต่างๆที่ ดร.มินตันใช้ในการ สะกตจิตบำบัด จนตีพิมพ์ออกมเป็นหนังสือทีชื่อ Patterns of the hypnotic Techniques of Milton H. Erickson Vol. 1 ในปี 1975 และตามมาด้วย Pattern of the hypnotic techniques of Milton H. Erickson Vol. 2 ซึ่งเนื้อหาจากหนังสือทั้งสองเล่มนี้ในภายหลังได้กลายเป็นแนวคิดพื้นฐาน (fundamental basis) ของระบบที่เรียกว่า Milton model ที่ว่าด้วยการใช้ภาษาที่ "คลุมเครืออย่างมีศิลปะ" (Artfully vague) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังรับรู้ด้วยระดับ "จิตใต้สำนึก" แทนที่จะเป็นการรับรู้ในระดับ "ความเข้าใจส่วนบุคคล" (จิตสำนึก) เพื่อที่การพูดนั้นจะส่งผลต่อผู้รับสารได้ดี เป็นผลให้การบำบัดเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากึ้น
 
หลักการ Meta Model และ Milton Model ที่ถูกคิดค้นขึ้นนี้ในภายหลังได้กลายมาเป็นหลักการแรกๆ ของศาสตร์ที่ชื่อว่า NLP ซึ่งเป็นทิ่นิยมอย่างสูงจากหลายๆ วงการ โดยเริ่มจากวงการ จิตวิทยาบำบัด (psychotherapist) ตามมาด้วย กลุ่มผู้บริหารธุรกิจและนักขายอาชีพจนถึงวัยรุ่นหนุ่มสาวเจเนเรชั่นใหม่ และตอนนี้ เองที่ NLP ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
 
ความนิยมของ NLP ที่เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่มีวี่แววว่าจะหยุดนี้ ทำให้มีคนหลายคนเริ่มหันมาร่วมงานกับผู้ก่อตั้งทั้งสองมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหลายๆ คนในนั้นรวมไปถึง เลสลี่ เมรอน แบนดเลอร์ (Leslie Cameron-Bandler ภรรยาของแบนด์เลอร์), จูดิตธ์ เดโลซีเออร์ (Judith Delozier), สตีเฟ่น กีลีแกน ( Stephen Giligan), โรเบิรตส์ ดิลต์ (Robert Dilts) , และ เดวิด กอร์ดอน (David Gordon ผู้แต่งหนังสือ Therapeutic Metaphors ) ซึ่งเป็นผู้ที่ช่วยพัฒนาศาสตร์แห่ง NLP ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ริชารด์ แบนด์เลอร์และ จอห์น กรินเดอร์ ก็ได้ออกมาประกาศว่า NLP นั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในเรื่องการบำบัดรักษาแต่ยังเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการสื่อสารอีกด้วย
 
และในช่วงปี 1970 ริชารด์แบนด์เลอร์ และ จอห์น กรินเดอร์ ได้ทำการตลาดโดยโปรโมทให้ NLP เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ ภายใต้หลักการที่ว่า  "ถ้ามนุษย์คนอื่นสามารถทำได้ คุณก็สามารถทำได้เช่นกัน"   ส่งผลให้ NLP ยิ่งเป็นที่สนใจจากหลากหลายสาอาชีพมากยิ่งขึ้นอีก