Alfred Adler ประวัติ

   


Alfred Adler เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1870 ที่ประเทศออสเตรีย ณ กรุงเวียนนา เป็นชาวยิว ตอนที่เป็นเด็กเขามีสุขภาพไม่ดี เป็นโรคกระดูกอ่อน และมีอาการชักเพราะการหดแกร็งของกล้ามเนื้อที่ช่องสายเสียงทำให้เสี่ยงต่อการหายใจไม่ออก เขาต้องตะเบ็งเสียงและร้องไห้ตลอด ตอนอายุ 3 ขวบ เสียน้องชาย หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็ เป็นโรคนิวโมเนียหรือโรคปอดบวมและเกือบเสียชีวิต เคยถูกรถชน 2 ครั้ง หมอบอกว่าเขาควรได้รับอากาศบริสุทธิ์ดังนั้น เขาจึงได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษจากพ่อแม่ดังนั้นพ่อและแม่ของเขาจึงให้เขาไปวิ่งเล่นนอกบ้านกับเพื่อนเป็นประจำ ทำให้เขามีความทรงจำที่ดี เกี่ยวกับเพื่อนๆและตลอดชีวิตของเขาก็ชอบมีเพื่อนและเขาทำงานหนักตลอดเพราะเขาต้องการชดเชยกับความอ่อนแอในวัยเด็ก
 
Adler เป็นเด็กเรียนปานกลาง เขาเรียนแย่มากในวิชาคำนวณ จนต้องเรียนซ้ำชั้น จนเขาพยายามฝึกฝนจนเก่ง วันหนึ่งอาจารย์เขียนโจทย์คำนวณไว้บนกระดานและไม่มีใครทำได้ แม้แต่ครู และเขาประกาศตนว่า "ผมทำได้" และครูของเขาก็พูดว่า "แน่ละไม่มีใครทำได้เธอคงทำได้ซีนะ" แต่เขาไม่สนใจในคำพูดถากถางของครูและเพื่อนที่หัวเระเขาและ เขาก็สามารถทำได้และในที่สุดเขากลายเป็นเด็กฉลาดที่สุดของชั้น
 
หลังจากเรียนจบการศึกษาเบื้องต้นแล้วเขาได้เข้าการศึกษาแพทย์ที่ Vienna Medical School จาก การศึกษาที่นี่เขาได้รับการเน้นว่าแพทย์ต้องทำการรักษาคนไข้ทุกเรื่อที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาทั้งหมดไม่เฉพาะแต่เรื่องความเจ็บป่วยเท่านั้น Adlerชอบคำสอนที่ว่า "ถ้าคุณต้องการเป็นหมอที่ดีคุณก็ต้องเป็นคนที่มีความเมตตากรุณา" (If you want to be a good doctor, you have to be a kind person) คำกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เขาสนใจมากและจดจำไม่ลืม
 
เมื่อเขาได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์แล้ว เขาได้ตั้งคลีนิคส่วนตัวในย่านที่อยู่อาศัยของคนชั้นกลางซึ่งมีฐานะไม่ค่อยดีเท่าใดนัก ในเมืองVienna ใกล้กับสวนสาธารณะแห่งหนึ่งคนไข้ของเขามีทั้งศิลปิน และนักกายกรรมซึ่งมาเปิดการแสดงที่สวน สาธารณะแห่ง นี้ ในจำนวนคนไข้เหล่านี้มีคนไข้บางคนที่ทำให้ Adler พบว่าเขาเหล่านั้นได้พบความสำเร็จมีพละกำลังหรือความแข็งแรงที่ เกิดจากประสบการณ์ของความอ่อนแอและความเจ็บ ป่วยของตน ชักนำให้เกิดขึ้น
 
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดทฤษฎีบุคลิกภาพของ Adler ก็คือการเห็นผู้ป่วยมีสุขภาพทีดีขึ้นจากการเอาชนะความอ่อนแอต่อสุขภาพของพวกเอง และเกิดความสนใจในความคิดเรื่องการได้รับ ความสำเร็จจากการชดเชย และได้กลายมาเป็นความ คิดรวบยอด (concept) ที่สำคัญอย่างหนึ่งในทฤษฎีบุคลิกภาพของเขา
 
ในช่วงแรกของการทำงานเขาได้เข้ามาทำงานร่วมกับ Freud ต่อมาเขาไม่เห็นด้วยกับ Freud ในเรื่องของความฝัน (dreams) และได้ตีพิมพ์บทความวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นนี้
 
ในปี 1910 เขาได้รับเลือกเป็นประธานคนแรกของสมาคมจิตวิทยาวิเคราะห์ (Vienna Psycho – Analytic Society) แต่ในระยะหลังๆ Adler ไม่เคยสร้างความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกับ Freud หรือกับนักจิตวิทยาคนสำคัญๆในกลุ่มจิตวิเคราะห์ เขาไม่ใช่คนที่จะยอมสยบให้กับผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า ประกอบกับคำถามและคำวิจารณ์ความคิดบางอย่างในทฤษฎีของ Freud อย่างตรงไปตรงมา เป็นเหตุให้เขาต้องลาออกจากสมาคมนี้ไปในปี ค.ศ. 1911
 
หลังจากนั้น Adler ก็ได้มารวบรวมนักจิตวิทยาที่มีความคิดเห็นตรงกันตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่ เรียกชื่อว่า Society for Free Psycho Analytic Research การตั้งชื่อเช่นนี้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงการไม่เห็นด้วยวิธีการที่ Freud ศึกษาคนไข้
 
ในปี 1913 เขาได้เปลี่ยนชื่อสมาคมนี้ใหม่เป็น Individual Psychology เป็นชื่อที่สะท้อนถึงความเกี่ยวข้องต่างๆ ที่จะเข้าใจบุคลิกภาพทั้งหมด ไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งในเรื่องพฤติกรรมเท่านั้น ความหมายอีกอย่างหนึ่งของคำว่า "รายบุคคล (individual)" คือการแสดงสิ่งที่ปรากฏทั้งหมดหรือสิ่งที่อยู่ในรายบุคคล แต่คำ ๆ นี้มักนำไปใช้เป็นความหมายในการศึกษารายบุคคล (study of the individual) ซึ่งเป็นการศึกษาที่ตรงกันข้ามกับการศึกษาพฤติกรรมเป็นกลุ่ม และไม่ใช่ความหมายในทัศนะของ Adler ในทฤษฎีของ Adler คำว่า "รายบุคคล" (individual) สามารถเข้าใจได้จากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสมาชิกอื่นๆ ในสังคม
 
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 Adler ได้เป็นแพทย์รักษาทหารที่บาดเจ็บในโรงพยาบาลในกรุงเวียนนา (Vienna hospital) ซึ่งทำให้เขาได้รับประสบการณ์ต่างๆ กว้างขวางขึ้น เขาได้ค้นพบความสำคัญของมโนมติ (concept) ในเรื่องความสนใจสังคม (social interest) เขาได้เห็นความทารุณโหดร้ายของสงครามที่มีต่อประชาชน สงครามเป็นผลมาจากการขาดความไว้วางใจ และขาดความร่วมมือกัน สิ่งเหล่านี้เป็นแรงจูงใจในการเขียนผลงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อมูลทั่วๆ ไปของมนุษย์ เช่น ความต้องการที่จะร่วมมือกัน (cooperation) ความรัก (love) และการได้รับการยอมรับนับถือระหว่างมนุษย์ด้วยกัน (respect) ในขณะเดียวกันเขาก็ให้ความช่วยเหลือที่จะสร้างคลีนิคแนะแนวเด็กขึ้นใน โรงเรียนในกรุงเวียนนา (child guidance clinic) ให้คำปรึกษาแก่เด็กและครอบครัว
 
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 192 เป็นต้นมา Adler เป็นนักจิตวิทยาที่ได้รับการยอมรับระหว่างประเทศเขาได้ไปบรรยายในยุโรป สหรัฐอเมริกา
 
Alfred Adler ถึงแก่กรรมด้วยหัวใจวายขณะที่ได้รับเชิญเป็นอาจารย์อาคันตุกะ (tour lecture) เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1937