ทฤษฎีบุคลิกภาพ: Karen Horney

   


Karen Horney เติบโตมากับครอบครัวที่ค่อนข้างจะดูถูกบทบาทของสตรีเพศ ความรู้สึกไร้ค่าของเธอยังถูกเสริมด้วยความคิดว่าตัวเธอไม่สวย แม้คนอื่นจะไม่คิดเช่นนั้น คาเร็นแสดงปฏิกิริยาโดยการมุ่งการศึกษาดังที่เธอได้กล่าวในปลายปีต่อมาว่า "แม้ฉันจะไม่สวย แต่ฉันจะเก่ง" เมื่อเธอมีครอบครัวเธอประสบกับปัญหาชีวิตมากมายจนทำให้เธอเป็นโรคซึมเศร้า ยิ่งไปกว่านั้นเธอไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่จิตแพทย์ของเธอวิเคราะห์สิ่งที่เธอเป็น จึงเป็นหนทางเริ่มต้นของการศึกษาด้านจิตวิทยาของเธอ Horney เชื่อว่ามนุษย์เรานั้นเกิดมาเพื่อแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันกันอย่างมาก (hypercompetitiveness) เป็นความต้องการที่ไม่รู้จักแยกแยะในการเอาชนะและหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ด้วยทุกวิถีทางเพื่อปกป้องความรู้สึกว่าตัวเองยังมีค่าอยู่ บุคคลประเภทที่รักการแข่งขันจะไม่เชื่อใจใคร จนกว่าเขาได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเป็นคนซื่อสัตย์ บุคคลดังกล่าวพยายามเอาชนะความรู้สึกมีปมด้อย ด้วยการพยายามต่อสู้เพื่อความเหนือกว่า โดยกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ดันทุรัง เย่อหยิ่ง ก้าวร้าวและดูถูกคนอื่น
 
Horney นั้นยังมุ่งประเด็นไปที่รากฐานที่มาของอาการโรคประสาทของบุคคล การเลี้ยงดูของครอบครัวนั้นมีส่วนสำคัญในการสร้างให้คน ๆ นั้นเป็นโรคประสาทหรือไม่ เช่น ไม่สนใจพฤติกรรมไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่ให้เกียรติลูกและไม่สนใจความต้องการของลูกคล้ายกับ Defense Mechanism ของ Freud ทาง Horney เชื่อว่า เด็กมักจะใช้เจตคติป้องกันตัวเองวิธีการปกป้องตัวเองชั่วคราวเหล่านี้จะทำให้ปวดร้าวอันเกิดจากความเหงา และความไม่มั่นใจน้อยลงและทำให้รู้สึกปลอดภัย ฮอร์ไนได้เรียกการปกป้องตัวเองเหล่านี้ว่า neurotic needs ซึ่งแบ่งเป็น 10 ประการดังนี้
 
  1. The neurotic need for affection and approval – คนที่ต้องการความรักอย่างไม่แยกแยะ พวกนี้มักจะหูเบา เชื่อคนง่าย และกลัวการถูกปฏิเสธ
  2. The neurotic need for a "partner" who will take over one's life – คนที่ต้องการที่จะมี "คู่ชีวิต" อย่างที่สุดจนเกินไป พวกนี้มักจะเป็นพวกที่ขาดแหล่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจอย่างที่สุด
  3. The neurotic need to restrict one's life within narrow borders – ความต้องการแบบประสาทเพื่อควบคุมชีวิตของตัวเองอยู่ในวงแคบๆ
  4. The neurotic need for power – ความบ้าอำนาจแบบประสาท
  5. The neurotic need to exploit other – คนที่มักจะเอาเปรียบผู้อื่น มักเปนคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้ใจใครทั้งนั้น
  6. The neurotic need for social recognition and prestige – คนที่ให้ความสำคัญกับยศฐาบรรดาศักดิ์จนเกินไป
  7. The neurotic need for personal admiration – คนที่เป็นโรคประสาทมักจะรู้คิดว่าตนเองนั้นน่าขยะแขยง ดังนั้นคนประเภทนี้จึงมักจะต้องการให้คนอื่นมาชื่นชมชมชอบตนเองจนเกินไป
  8. The neurotic ambition for personal achievement -- คนประเภทนี้จะต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งเกียรติยศ และการเคารพ
  9. The neurotic need for self-sufficiency and independence – คนประเภทนี้มักจะต้องการอยู่อย่างสันโดษ การแสดงความเหินห่างทำให้คนประเภทนี้สามารถรักษาภาพลวงว่าตัวเองเลอเลิศในความคิดฝันของคนประเภทนี้จะเต็มไปด้วยภาพลวงตัวเองว่าดีเลิศจนพวกเขาไม่ยอมมีการปฏิสัมพันธ์และไม่ยอมมีการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
  10. The neurotic need for perfection and unavailability -- คนประเภทนี้มักจะใฝ่หาความสมบูรณ์แบบในชีวิตของตนเอง จนกระทั่งนำพามาซึ่งความเครียดจนกลายเป็นโรคประสาท
ดังจะเห็นได้ว่าโรคประสาททั้งสิบชนิดนั้นมีอาการที่ซ้ำซ้อนกัน ดังนั้น Horney จึงจัดประเภทออกมาได้สามกลุ่มได้แก่ การยอมทำตาม (compliant) ความก้าวร้าว (aggression) และความเหินห่าง (detached) Horney มีความเชื่อว่า ประสบการณ์พิเศษในสังคมและวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดบุคลิกตอนเป็นผู้ใหญ่ที่สำคัญ เด็กซึ่งได้รับการรังแกด้วยความรุนแรงและไร้เหตุผลจะทำให้เป็นโรคประสาท พัฒนาการที่แข็งแรงนั้นเกิดจากความสัมพันธ์ที่อบอุ่น ยุติธรรม เข้าใจกัน สนับสนุนกันและด้วยการให้เกียรติของพ่อแม่ ถ้าหากเด็กได้รับการอบรมที่ดีจะสามารถบรรลุได้ถึงตัวตนที่แท้จริง (real self) ของตัวเอง และถ้าได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมมนุษย์ทุกคนสามารถมุ่งสู่การตระหนักในตัวเอง(self-realization) และได้พัฒนาศักยภาพของตนเองเช่นกัน
 
กลไกการป้องกันตัวเองของ Horney มีทั้งหมดเจ็ดประการได้แก่ จุดบอด การแบ่งภาค การแก้ตัว การควบคุมตนเองเกินเหตุ
ความถูกต้องที่ไร้กฏ การหลบอย่างฉลาด และ การถากถาง