ชื่นชมหรือตำหนิ
ในยุคสมัยที่เราถูกสอนให้เลี้ยงลูกแบบ "เสริมสร้างความมั่นใจ" ให้กับเด็ก ทำให้พ่อแม่หลาย ๆ คนมักจะโปรยคำชมให้กับลูกอย่างมากมายเหลือเฟือ
.
ทั้ง "เก่งจังลูก" "น่ารักจังลูก" "หนูสวยที่สุดเลย"
.
สารพัดสารพันคำชมเท่าที่จะสรรหามาสร้างมาทำให้ลูกรู้สึกภูมิใจในตนเอง
.
หารู้ไม่ว่าคำชมที่ถูกหว่านพร่ำเพรื่อเหล่านั้นมันคือ "ยาพิษเคลือบน้ำตาล" ดี ๆ นี่เอง
.
Steven Grosz กล่าวเอาไว้ในหนังสือ The Examined Live: How we lose and fid ourselves ว่า
.
"ในช่วงสิบปีมานี้ผลการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับการเคารพตัวเองและความเชื่อมั่นในตนเองได้ข้อสรุปว่า การชมเชยเด็กว่าฉลาดอาจไม่ช่วยให้เขาเรียนเก่งที่โรงเรียนได้ จริง ๆ แล้วมันอาจทำให้เขาเรียนแย่ลงด้วยซ้ำ"
.
หลาย ๆ ครั้งที่เมื่อเด็กได้รับคำชมแล้วกลายเป็นว่าเด็กเลิกทำพยายามพัฒนาตัวเองไปเลย (แล้วจะพัฒนากันไปทำไมในเมื่อแบบเก่ามันก็ดีอยู่แล้วนี่)
.
ในขณะที่ขั้วตรงข้ามแบบสุดโต่งในการเลี้ยงลูกก็คือคนยุคพ่อแม่ของเราที่มักจะเลี้ยงลูกด้วยคำตำหนิ
.
สารพัดที่จะสรรหามาต่อว่า ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะรู้สึกภูมิใจในตัวลูกมากมายขนาดไหนก็ตาม โดยให้เหตุผลว่าลูกจะได้พยายามมากขึ้นทั้ง ๆ ที่ลูกก็ทำดีแล้ว (ชมมากเดี๋ยวเหลิง)
.
แต่ผลที่ตามมาก็คือ มันเป็นการทำให้เด็ก ๆ เหล่านั้นเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดความเชื่อมั่นและมองไม่เห็นคุณค่าในตนเองดั่งที่ควรจะเป็น
.
ทั้งคำชมที่ไร้ความหมายที่ถูกหว่านออกไปพร่ำเพรื่อ และคำตำหนิที่ไม่มีวันสิ้นสุดนั้น ต่างก็มีผลลัพธ์เช่นเดียวกัน
.
แล้วถ้าหากทั้ง 2 สิ่งนี้ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับเด็กได้ แล้วอะไรล่ะที่จะช่วยสร้างความมั่นใจ?
.
คำตอบก็คือ "ความใส่ใจ"
.
เพราะความใส่ใจทำให้เด็กรู้ว่าตนมีคุณค่าในสายตาของพ่อแม่ และคุณค่าของตนก็มากเพียงพอที่พ่อแม่จะสละเวลาคิดถึงตน ความใส่ใจทำให้เด็กรู้สึกมีตัวตน มีที่ให้พักพิง และข้อสำคัญที่สุดคือ มีคนรักตน มิใช่รักที่ผลงาน มิใช่รักที่เกรด มิใช่รักที่หน้าตา และมิใช่รักที่ความสำเร็จ ...
.
แต่รักที่ตนเป็นตน ...
.
การชมด้วยความใส่ใจต่างหากคือคำตอบอย่างแท้จริง
.
เราควรชมที่ความพยายามของเด็กที่เด็กแสดงออกต่อกิจกรรมนั้น ๆ และแสดงออกในความเชื่อมั่นในตัวของเขาที่พ่อแม่มีต่อเขา สิ่งเหล่านี้แหละที่จะเป็นตัวที่ทำให้เด็กสัมผัสได้ถึงความใส่ใจที่พ่อแม่มอบให้เขา อันก่อกำเนิดเป็นพื้นฐานของการมองเห็นคุณค่าในตนเองที่แข็งแรงได้ในที่สุด
.
:)