อารมณ์ที่อยู่เบื้องหลังเหตุผล

   


แน่นอนว่าเราทุกคนมีเหตุผล แต่ในความเป็นจริงแล้วเรามักใช้เหตุผลในการโต้เถียงสร้างความชอบธรรมให้มาเข้าข้างฝั่งตัวเรามากกว่าที่จะใช้เหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ
 
ข้อเท็จจริงที่สำคัญมีอยู่ว่า นักจิตวิทยาและนักพฤติกรรมศาสตร์ได้ทำการวิจัยแล้วค้นพบว่า
 
ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วพวกเราจะเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเราพิจารณาและตัดสินใจสิ่งต่างๆ ด้วยความเป็นเหตุเป็นผลเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วพฤติกรรมต่างๆ ที่เราแสดงออกในชีวิตประจำวันนั้น แทบจะทั้งหมดล้วนแล้วแต่ถูกขับเคลื่อนด้วยอิทธิพลของอารมณ์แทบจะทั้งสิ้น
 
โดยคนเรามักใช้อารมณ์เป็นตัวกำหนดทิศทางของพฤติกรรม ส่วนเหตุผลและข้อเท็จจริงนั้น มักเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้กล่าวอ้างเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมที่มีอยู่เท่านั้น
 
อธิบายง่ายๆ ก็คือการที่เราตัดสินใจเป็นหนี้สินผ่อนโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ล่าสุดราคาหลายหมื่นบาท ความจริงแล้วมาจาก “อารมณ์อยากได้” ล้วนล้วนๆ
 
ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมฉันจึงควรที่จะต้องเป็นหนี้แล้วซื้อมันมา มันคือข้ออ้างที่ทำให้การตัดสินใจ (ด้วยอารมณ์) ของเรามีความชอบธรรมทั้งต่อตัวเราเองและต่อสังคมที่เราอาศัยอยู่ก็เพียงเท่านั้นเอง
 
จากหลักการที่ได้กล่าวถึงไปในข้างต้นนี้ เราอาจจะกล่าวได้ว่า
 
“หากต้องการที่จะควบคุมผู้ใด เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มต้นจากการควบคุมอารมณ์ของคนๆ นั้นเสียก่อน เพราะอารมณ์จะเป็นเครื่องมือกำหนดทิศทิศทางผู้คนได้อย่างทรงพลังที่สุด”
 
และก็เช่นเดียวกัน
 
“หากต้องการที่จะควบคุมชีวิตของตัวเราเองให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการจริงๆ แล้ว เราก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มต้นจากการควบคุมอารมณ์ของตัวเราเองให้ได้เสียก่อนด้วยเช่นกัน”
 
อารมณ์นั้นเป็นผลผลิตอันเกิดขึ้นจากการทำงานของจิตใต้สำนึก โดยจิตใต้สำนึกจะทำงานไปตามความเคยชินของมันอย่างไร้เหตุผล
 
ส่วนการสะกดจิตบําบัด (Hypnotherapy) เป็นกระบวนการที่ว่าด้วยเรื่องของการแนะนำจิตใต้สำนึกให้รู้เหตุผล ทำให้จิตใต้สำนึกนั้นรู้ว่ามันควรที่จะต้องตอบสนองอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อตัวเรา